นอกจากนิยายรักแนวชายชายที่นักอ่านหลายคนชื่นชอบ นิยายยูริ (หญิงรักหญิง) ก็ถือเป็นอีกหนึ่งนิยายรักอีกแนวที่นักอ่านหลายคนพูดถึงกันมากในช่วงนี้ เพราะเอาดีๆ ประเด็นความรักของนิยายรักแบบหญิงหญิงในแต่ละเรื่อง ก็สามารถทำให้เราฟินได้ไม่แพ้นิยายแนวปกติหรือนิยายรักแนวชายชายเลยล่ะ
แต่ในสายตาของคนบางกลุ่มกลับมองว่านิยายที่ตัวเอกรักเพศเดียวกันเป็นเรื่องผิดแปลกในสังคม เราลองมาฟังมุมมองของเหล่าคนรุ่นใหม่กันดีกว่าว่าในสายตาของพวกเขามองนิยายยูริว่าเป็นยังไง
“สำหรับเรา เรามองว่ามันก็เป็นเรื่องปกติ นิยายเกี่ยวกับความรักปกติโดยที่ไม่ได้โฟกัสไปที่เรื่องเพศสักเท่าไรค่ะ เพราะมันเป็นเรื่องน่ารักๆ ของคนสองคนที่รักกัน เราแฮปปี้เวลาอ่าน ได้ความสุขความสนุกเท่านั้นพอ ไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องแปลกหรือผิดอะไร ในทางตรงข้ามกับสนับสนุนด้วยซ้ำ เพราะเรามองว่านี้ก็เป็นอีกทางที่แสดงให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่เค้ายอมรับเกี่ยวกันเรื่อง LGBT เยอะมากขึ้น”
เขมิกา ลายลักษณ์ (มาย) อาชีพ นางแบบ นักแสดง และเคยเล่นเอ็มวีเพลง ‘มีความสุขบนความทุกข์ของตัวเอง’
ของดิว อรุณพงศ์ (เอ็มวีแนว Yuri)
“ในเรื่องของความรัก ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบชายรักหญิง หญิงรักชาย ชายรักชาย หรือแม้แต่หญิงรักหญิง ส่วนตัวคิดว่าในปัจจุบันสังคมค่อนข้างเปิดกว้างในเรื่องแบบนี้มากกว่าเมื่อก่อนอย่างมาก เพราะฉะนั้นทุกวันนี้ มันจึงเป็นเรื่องปกติมากๆ ถ้าเพศเดียวกันจะรักกัน เพราะถึงอย่างไรความรักก็ยังเป็นสิ่งสวยงามเสมอ แต่ถ้าพูดถึงในมุมมองของนิยาย ไม่ว่าจะเป็นแนวชายรักชายหรือหญิงรักหญิง ส่วนตัวก็เคยเห็นเคยอ่านมาบ้างเหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่ที่เห็นจะไม่ใช่นิยายที่เขียนโดยคนไทย ซึ่งตรงจุดนี้คิดว่าการเปิดกว้างในเชิงสื่อพิมพ์ในบ้านเราอาจจะยังไม่ค่อยเปิดกว้างมากเท่าที่ควร ผู้ใหญ่หลายๆ คนก็อาจจะยังยอมรับเรื่องแบบนี้ไม่ได้ อันนี้ก็ต้องเข้าใจ แต่ถึงอย่างไรก็คิดว่าไม่ใช่เรื่องแปลกหรือเสียหายอะไรหากจะมีนิยายหรือสื่อพิมพ์จะเสนอเรื่องราวแนวนี้ออกมามากขึ้น ขึ้นอยู่กับเนื้อหาหรือข้อคิดที่ต้องการจะสื่อออกมามากกว่า”
มนัสนันท์ อักษรกุล (กบ) อาชีพ ผู้จัดการส่วน - กลุ่มงานพัฒนาระบบงานและบริหารความเสี่ยง
“สำหรับผม ผมว่านิยายแนวผู้หญิงชอบผู้หญิงก็น่ารักดีนะครับ เป็นอีกมุมมองความรักนึงที่ในความเป็นจริงก็มีอยู่ในโลกเราอยู่แล้ว แค่ไม่ได้เป็นที่เปิดกว้างนักต่อสังคม ซึ่งผมมองว่าจะความรักในรูปแบบไหนมันก็สวยงามเสมอครับ”
วชิรวิชญ์ อรัญธนวงศ์ (ริว) อาชีพ นายแบบ นักแสดง และเป็นนักกีฬาเทเบิลเทนนิสเยาวชนทีมชาติไทย
“ในความคิดเห็นของผม ผมคิดว่าในมุมมองของหญิงรักหญิงก็มีความคล้ายชายรักชาย เพราะเท่าที่ตัวผมเล่นชายรักชายมาก็เป็นเรื่องปกติในสังคมไปเเล้ว ซึ่งถ้าจะมีเเนวหญิงรักหญิงก็เหมือนเป็นสีสันแปลกใหม่ในสังคมครับ ^^”
ภูรินทร์ เรืองวิวัฒจรัส (เอ็ม) อาชีพ นายแบบ นักแสดง
“สำหรับเรา เรามองว่าความรักมีหลายรูปแบบ ความรักไม่ใช่การเอาเพศเป็นที่ตั้งและตัดสิน มนุษย์เป็นคนกำหนดและจำกัดความไปเอง ว่ามันต้องเป็นอย่างนั้น ถึงจะเรียกว่าถูกแต่ในความเป็นจริงในสังคมแล้วคนเราจะรักกันต้องเริ่มจากการให้ ความความปรารถนาดี ความจริงใจ ต่อกันก่อน นิยายสไตล์ยูริที่เขียนออกมาเป็นเพียงการตีแผ่ความรักอีกด้านของคนอีกกลุ่มที่มีอยู่จริงในสังคมแต่คนส่วนใหญ่แค่ไม่รู้หรือรู้แต่ไม่ค่อยจะยอมรับ”
ทิพย์สุดา จันทรวรรณกูร (ทราย) อาชีพ Sale and Marketing
“ถ้าเป็นมุมมองของโดนัทเองนะครับ ก็คิดว่าไม่แปลกนะครับ เพราะถ้าเอาความรู้สึกเหมือนโดนัทจะชินกับการเห็นคู่รักชายๆ หญิงๆ แล้วล่ะครับ เห็นหลายคู่ก็เห็นรักกันดีช่วยกันทำงานช่วยกันเรียนติวหนังสือ เห็นเขาไม่ไปทำอะไรผิดๆ ก็ดีนะครับ แต่ถ้าเป็นแนวนิยายถ้าไม่ถึงขั้นแบบเอ็กซ์ก็ถือว่าน่าอ่านมากเลยครับ เพราะนิยายบางเล่มก็สอนให้เราเข้าสังคมเข้ากับเพื่อนๆ ที่รักเพศเดียวกันใด้ดีเลยล่ะครับ”
ทัตธน ใจแดง (โดนัท) อาชีพ นายแบบ พิธีกร นักแสดง และเป็นผู้เข้ารอบแคสติ้ง ‘เดือนเกี้ยวเดือน’
“ความรักในเพศเดียวกันอาจจะไม่ใช่เรื่องแปลก แต่คนต่างหากที่ไปตีกรอบความรักให้มันเป็นไปตามแบบที่ตัวเองต้องการ และในสังคมปัจจุบันนี้ความรักไม่ได้มีแค่ผู้ชายกับผู้หญิง มันมีทั้งชายรักชาย หญิงรักหญิง และอาจจะมีความรักแบบอื่นที่นอกเหนือไปจากนี้ ผมเลยคิดว่าถ้าเราทำสื่อออกมาตีแผ่บางมุมของความรักที่ผู้หญิงรักผู้หญิง ก็ไม่น่าเป็นเรื่องผิด”
นราดล นำบุญจิตต์ (ปริ้น) อาชีพ นักแสดง
“ก่อนอื่นเราต้องยอมรับก่อนว่ายังมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ยอมรับในเรื่องของรักร่วมเพศ ซึ่งจริงๆ แล้วเราไม่สามารถไปตัดสินได้ว่าแบบไหนมันผิดหรือถูก ดีหรือไม่ดี โดยส่วนตัวแล้วเราคิดว่าการที่ผู้หญิงรักผู้หญิงด้วยกันเองมันก็ไม่ใช่เรื่องผิดเพราะว่าความรักสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย เหตุผลที่ผู้หญิงหันมารักกันเองมากขึ้นอาจเพราะคิดว่าจะเข้าใจกันง่ายกว่า ไม่เหมือนกับผู้ชายที่บางครั้งไม่แม้แต่จะพยายามเข้าใจกัน นิยายยูริเลยเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เสนอมุมมองความรักในอีกแง่มุมนึงให้กับสังคมเท่านั้นเอง”
เกศชญา บุญธนะสาร (แนน) อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว
“ส่วนตัวไอซ์ชอบนะครับ เวลาที่ผู้หญิงดูแลเอาใจใส่กัน เป็นห่วงกัน ด้วยผู้หญิงเป็นเพศที่ sensitive ต่อความรู้สึก เค้าจะรับรู้ความรู้สึกของอีกฝ่ายได้ง่าย ด้วยเสน่ห์หลายๆ อย่างของผู้หญิงแล้ว ยิ่งทำให้น่ามองจนหยุดไม่ได้เลย ขออนุญาตลากเก้าอี้มานั่งดูใกล้ๆ เลยละกันครับ คงเพลินดี ฮาๆ”
อิทธิกร ไกรเจริญ (ไอซ์) อาชีพ นายแบบ นักแสดง
“นิยายแนวผู้หญิงรักผู้หญิง ผมมองว่าเป็นแนวที่คนส่วนใหญ่ก็หน้าจะชอบแบบผมเหมือนกัน และผมว่าควรจะนำเรื่องที่น่าสนใจหรือนิยายแนวยูริมาทำเป็นซีรี่ส์เน้นๆ เฉพาะเลย จะได้ดูได้เห็นสิ่งที่พวกปฏิบัติซึ่งกันและกัน ได้ดูผู้หญิงสวยๆ เขารักกัน มุ้งมิ้งกัน แบบเห็นเป็นภาพเลยผมเชื่อว่าผู้ชายหลายๆ คนคงจะมีความคิดคล้ายๆ ผม ผมมองว่ามันเป็นอะไรที่น่ารักมากครับ”
พงศ์พล เสนีวงศ์ ณ อยุธยา (อาร์ม) อาชีพ นักแสดง
“โดยส่วนตัวผมแล้วนิยามความรักไว้ว่า ความรักเป็นสิ่งที่สวยงาม ถึงแม้บางคนอาจจะบอกว่าคนที่พูดแบบนี้ก็โลกสวยทุกคน แต่สำหรับผมผมมองแบบนั้นจริงๆ ซึ่งในปัจจุบันเรื่องของความรักที่เป็นรักแบบเพศเดียวกัน ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องน่าอาย หรือต้องหลบๆ ซ่อนๆ จะเป็นแบบชายรักชายหรือหญิงรักหญิง ผมก็ไม่ได้มองว่าแปลกหรือไม่สมควร เพราะขึ้นชื่อว่าความรัก มักจะมีแต่สิ่งที่ดีมอบให้กัน เข้าใจกัน ดูแลกันก็พอแล้วล่ะ ^^ ซึ่งหากจะมีนิยายแนวยูริ เพิ่มขึ้นมาในสังคมไทยก็คงไม่แปลกอะไร เพราะผมเชื่อว่าสมัยนี้โลกมันเปิดกว้างมากพอสำหรับอะไรใหม่ๆ แล้วครับ”
พิธิวัฒน์ ลครชัยมงคล (อ๋อ) อาชีพ พิธีกร นักแสดง
และเคยเป็น Brand Ambassador ธรรมศาสตร์ ปี 59
“ถ้าพูดถึงนิยายยูริ (หญิงรักหญิง) ส่วนตัวก็อาจจะรู้สึกแปลกใจนิดนึงเพราะเพิ่งเคยได้ยิน และปกติแล้วก็เป็นคนไม่ค่อยอ่านนิยายรักสักเท่าไหร่ หรือถ้าเคยอ่านก็จะเคยอ่านแค่นิยายที่มีตัวหลักต่างเพศกัน ส่วนนิยายวายนี่ก็ค่อนข้างได้ยินมาบ่อยอยู่แล้วเพราะเป็นกระแสที่ดังอยู่มากๆ ตอนนี้ คิดว่านิยายยูริก็คงเป็นอะไรที่ใหม่ ให้ความเท่าเทียมและอิสระของเพศสภาพมากขึ้น ถ้าถามว่าแปลกมั้ยที่ตัวเอกเป็นเพศเดียวกัน ก็คงตอบว่าเป็นอะไรที่แปลกใหม่อยู่ค่ะ เพราะถึงความรักร่วมเพศจะมีมานานแล้วแต่หลายๆ ประเทศเพิ่งเปิดรับความสัมพันธ์ร่วมเพศไม่กี่ปีมานี้ และค่านิยมนี้ก็เพิ่งมาโด่งดังเอามากๆ เมื่อเร็วๆ นี้เอง ในอดีตที่ผ่านมาวรรณกรรมส่วนใหญ่ก็จะมีตัวเอกต่างเพศกัน แต่ถ้าถามว่าผิดมั้ยแพมคงตอบว่าความรักเป็นสิ่งสวยงามค่ะ ความรักเกิดได้ทุกที่ ทุกเวลา และกับทุกคน เพราะเช่นนั้นการมีความรักไม่ว่าจะกับใครมันก็ไม่ผิดค่ะ และนิยายยูริก็จะเป็นนิยายที่ทำให้เราได้เห็นความรักในมุมมองใหม่ๆ และก็จะเป็นนิยายที่ไม่ได้แค่สนุกแต่สามารถสะท้อนความจริงของสังคมได้ดี ถ้านักเขียนสนับสนุนค่านิยมและความรักที่บริสุทธิ์บนพื้นฐานของความแตกต่างนี้ได้ นิยายยูรินั้นก็อาจจะเป็นนิยายที่ดีต่อสังคมก็ได้ค่ะ”
บูชิตา ปิตะกาศ (แพม) อาชีพ นักแสดง และเคยเป็นลีดจุฬาฯ ปี 59
“เพิ่งเคยได้ยินคำว่านิยายยูริครั้งแรกนี่แหละ ไม่รู้จักมาก่อนเลย ไม่เคยอ่านนิยายสักแนวเลย ถ้าความเห็นจากคนที่ไม่อ่านนิยาย คิดว่านิยายจะเป็นแบบไหนหรือหนังสือแบบไหนก็ดีทั้งนั้นแหละ ถ้ามันทำให้คนอ่านยิ้มและมีความสุข”
อรกานต์ สายะตานันท์ (กานต์) อาชีพ ดีไซเนอร์ และเจ้าของแบรนด์ para
“นิยายความรักระหว่างเพศหญิงด้วยกันในส่วนตัวคิมแล้วคิดว่าน่าจะเป็นอะไรที่น่ารักในอีกรูปแบบหนึ่งเพราะว่าผู้หญิงมีความอ่อนโยนในตัว เราจะได้เห็นความรักและความฟินในอีกรูปแบบที่ในนิยายชายหญิงหรือชายชายนั้นไม่มี ซึ่งมันคือเสน่ห์ของตัวนิยายในแนวนี้ทำให้อยากติดตามอ่านนิยายจนจบ”
วรกมล นกแก้ว (คิม) อาชีพ นักแสดง
พบกับเรื่องราวของ ‘ดอกรัก’ สาวน้อยที่กำลังสับสนกับความรู้สึกของตัวเอง เมื่อความรู้สึกลึกซึ้งที่เธอมีให้กับรุ่นพี่อย่าง ‘พี่แพม’ นั้นมันเกินกว่าความสัมพันธ์อย่างรุ่นพี่กับรุ่นน้องทั่วไป… หาคำตอบสำหรับบทสรุปครั้งนี้ได้ใน ‘US รักของเรา’ นิยายแนวยูริเรื่องแรกของ สนพ. everY ได้ตามร้านหนังสือชั้นนำ หรือสั่งซื้อได้แล้ววันนี้ที่ Jamshop ( Line : @Jamshop / FB : Jamshopofficial / www.jamsai.com/store)
Comments
comments